พาไปทำความรู้จักก้อนเมฆแต่ละชนิดพร้อมชื่อเรียก
เมฆ เป็นตัวที่สามารถบางบอกถึงสภาพอากาศที่ปรากฎให้เห็นในท้องฟ้า และยังสามารถจำกัดการมองเห็นของนักบิน ในกรณีที่เมฆมีจำนวนมากหรือหนาแน่นเกินไป และถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อการบินเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักบินจึงจำเป็นจะต้องทำความรู้จักและสามารถแยกแยะชนิดของเมฆให้ได้ว่าเมฆรูปร่างต่างๆ ที่เรามองเห็นนั้นเป็นก้อนเมฆชนิดไหน และเป็นเมฆกลุ่มที่มีอันตรายหรือเป็นอุปสรรคต่อการบินในขณะนั้นหรือไม่ ซึ่งความรู้ในเรื่องชนิดของเมฆเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้นักบินสามารถแปลความหมายของสภาพอากาศในขณะนั้นได้ ห้ะ…อะไรนะ? ก้อนเมฆที่เราเห็นบนท้องฟ้าที่ก็มีหน้าตาเหมือนๆ กันหมด จริงๆ แล้วยังสามารถแบ่งเป็นหลายชนิดได้อีกหรอ ใช่ค่ะ คุณฟังไม่ผิดหรอกค่ะว่าเจ้าก้อนเมฆที่เราเห็นกันทั่วๆ ไปบนท้องฟ้านั้นไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว แต่ยังแบ่งเป็นหลายประเภทและมีชื่อเรียกของแต่ละประเภทอีกด้วย ในวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับประเภทและเมฆแต่ละชนิดแบบคร่าวๆ
ประเภทและชนิดของเมฆมีอะไรบ้าง
เราสามารถแบ่งประเภทของเมฆได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ การแบ่งแบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) และในแนวตั้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกที่ใช้บอกตามลักษณะของเมฆอีกด้วย ดังนี้
สเตรตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
เซอร์รัส (cirrus) หมายถึง ลักษณะเป็นลอนผม
นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน
แบ่งตามระดับความสูงของเมฆ
นอกจากการแบ่งตามประเภทและชนิดแล้วนั้นเมฆก็ยังมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ตามระดับความสูงของเมฆอีกด้วย ซึ่งการแบ่งตามระดับความสูงนี้ก็เพื่อใช้ตรวจสอบและแบ่งชนิดของเมฆทางอุตุนิยมวิทยา เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพลมฟ้าอากาศ โดยใช้ความสูงของฐานเมฆเป็นหลักในการแบ่งชนิดของเมฆ ซึ่งลักษณะของเมฆแต่ละชนิดนั้นก็ยังสามารถบอกแนวโน้มลักษณะของสภาวะอากาศที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เช่น ถ้าท้องฟ้ามีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้งนั้นแสดงว่าอากาศกำลังลอยตัวขึ้น แปลว่า สภาวะอากาศก่อนที่จะเกิดลมพายุเป็นต้น แล้วระดับความสูงของเมฆนั้นมีอะไรบ้าง?
เมฆระดับสูง (High Clouds) ความสูงในการก่อตัวอยู่ที่ 16,500 ฟุต ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำที่ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะมีผลึกน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่และมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ ค่อนข้างโปร่งใส
เมฆระดับกลาง (Medium Clouds) ความสูงในการก่อตัวอยู่ที่ 6,500 และ 16,500 ฟุต ซึ่งเมฆจะประกอบไปด้วยละอองน้ำเป็นหลัก
เมฆระดับต่ำ (Low Clouds) ความสูงในการก่อตัวจะต่ำกว่า 6,500 ฟุต เมฆจะลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินหรือที่เราเรียกว่า หมอก นั่นเอง