หลุดดำและความลับในห้วงอวกาศ
ถ้าพูดถึงหลุมดำ หลายๆคนก็คงทราบกันดี เป็นวัตถุอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงที่มากมายมหาศาล มากจนกระทั่งแสงที่ว่าไวก็ยังไม่สามารถหลุดรอดออกมาจากหลุมดำแห่งนี้ได้ แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่เคยมีการค้นพบเรื่องที่ว่าหลุมดำนั้นมีการดูดมวลสารจากห้วงอวกาศโดยรอบเข้าไป หรือแม้แต่เรื่องที่ว่าหลุมดำนั้นมีการขยายตัวอย่างจนสามารถกลืนกินจักรวาลเข้าไปทั้งหมดได้ ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะสงสัยและแปลกใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นกันหล่ะ ซึ่งแน่นอนว่าทุกๆ เรื่องนั้นได้มีการพิสูจน์และสามารถอธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์แน่นอน
ซึ่งในหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นก็ได้เคยมีผู้ให้คำอธิบายในเรื่องนี้เอาไว้หลายแนวทางด้วยกัน แต่ล่าสุดก็ได้มีศาสตราจารย์ที่มีชื่อว่า เลนนาร์ด ซัสส์คินด์ (Leonard Susskind) จากมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกและวางรากฐานทางทฤษฎีสตริง (String theory) อีกคนสำคัญเลยก็ว่าได้ โดยศาสตราจารย์เลนนาร์ดนั้นก็ได้มีการเสนอแนวคิดใหม่ที่ชี้ว่าหลุมดำนั้นจะไม่สามารถดูดกลืนห้วงอวกาศโดยรอบเข้าไปทั้งหมดได้ โดยได้ให้คำอธิบายว่า เป็นเพราะว่าหลุมดำนั้นมีการขยายตัว “ภายใน” มากกว่าการขยายตัวออกสู่พื้นที่ภายนอก
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เลนนาร์ดก็ยังได้เผยถึงแนวคิดดังกล่าวอีกว่าเมื่อหลุมดำได้ดูดเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เกิดการขยายตัวของปริมาตรด้านใน ซึ่งเจ้าปริมาตรที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ใช่การขยายตัวของขนาดหรือความกว้างแบบปกติทั่วไปที่คนเราสามารถสังเกตเห็นได้ เพราะการขยายตัวในเชิงปริมาณนี้นั้นจะมีลักษณะการเพิ่มพื้นที่ที่ความซับซ้อนในเชิงควอนตัม (Quantum complexity) ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์และด้วยแนวคิดที่เรียกได้ว่าค่อนข้างแปลกใหม่และค่อนข้างที่จะเข้าใจยากนี้ที่เรียกได้ว่าค่อนข้างที่จะแตกต่างจากหลักแนวคิดและทฤษฎีก่อนๆ ที่มีเกี่ยวหลุมดำ เพราะที่ผ่านมาการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของหลุมดำนั้นจะมีการอิงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งได้ทำนายถึงการมีอยู่ของหลุมดำไว้ตั้งแต่ปี 1915 โดยให้คำนิยามว่าหลุมดำคือสภาพที่ปริภูมิ-เวลา (space-time) แต่นิยามนี้ก็ยังไม่สามารถอธิบายเรื่องของการขยายตัวของหลุมดำได้ได้อย่างชัดเจนมากนัก
นอกจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วแล้ว ศาสตราจารย์เลนนาร์ดก็ยังมีการหยิบยกนำเอาหลักทฤษฎีทางฟิสิกส์เกี่ยวกับระดับอนุภาค เข้ามาใช้ในการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้อีกด้วย โดยได้พยายามสร้างทฤษฎีใหม่ๆ โดยนำหลักกลศาสตร์ควอนตัมเข้าใช้ในการอธิบายเรื่องการขยายตัวของหลุมดำแม้ว่าที่ผ่านมานั้นหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปจะไม่สามารถไปกันได้ดีกับนักกลศาสตร์ควอนตัมก็ตาม