Redd-net
  • หน้าแรก
  • คณิตศาสตร์
  • ดาราศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • วิทยาศาสตร์
  • จัดอันดับ
ใหม่
มุขจีบสาว แบบเสี่ยว ๆ ใช้ได้ผลจริงหรือไม่
ทำความรู้จัก WIFI EP2
ทํา นาย ดวง ความ รัก มีที่ไหนแม่นยำบ้าง
Hyperloop One
Google Authenticator งานเข้า คนแห่รีวิวแง่ลบ เหตุก...
เทคโนโลยี สมัยใหม่ ตามทันโลกเทคโนโลยี | Redd-net
 Crypto Bot เครื่องมือที่ได้รับความนิยมในโลกคริปโต
สอนเทรดคริปโต binance คอร์สพิเศษสำหรับมือใหม่
บาคาร่าเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ เปิดยูสเข้าเล่นได้ง่...

Redd-net

  • หน้าแรก
  • คณิตศาสตร์
  • ดาราศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • วิทยาศาสตร์
  • จัดอันดับ
0
ความรู้ทั่วไปบทความทั่วไป

แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)

by admin 18 ตุลาคม 2020
18 ตุลาคม 2020
แสงเกเกินไชน์

แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)

บทความนี้มีสาระดี ๆ ที่น่าสนใจจากคุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เรื่องที่นำมาแชร์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพ โดย “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)” คือแสงสลัว ๆ จาง ๆ รูปทรงรี ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Antisolar point) ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์กับฝุ่นละอองในระนาบของระบบสุริยะ เช่นเดียวกับแสงจักรราศี (Zodiacal light) แสงนี้สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในพื้นที่ที่มีคุณภาพท้องฟ้าดี มืดสนิทไร้มลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในอากาศ หากแสงเกเกินไชน์ปรากฏที่ใดก็สามารถชี้วัดถึงคุณภาพท้องฟ้าในพื้นที่นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีทีเดียวเชียว
วิธีการถ่ายภาพแสงเกเกินไชน์ (Gegenschein) สิ่งสำคัญสิ่งแรกคือความมืดของท้องฟ้า รวมไปถึงค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้าที่จะต้องดีมาก ๆ จึงจะสามารถถ่ายภาพติดแสงเกเกินไชน์ได้ โดยรายละเอียดการถ่ายภาพมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นแรกช่วงเวลาเที่ยงคืนจะมีโอกาสถ่ายภาพได้ดีที่สุด เนื่องจากตำแหน่งของแสงเกเกินไชน์อยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ทำให้แสงอยู่บริเวณกลางศีรษะพอดี ทำให้ไม่มีมวลอากาศที่ขอบฟ้ามารบกวน และควรถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องแบบตามดาวเพื่อให้สามารถถ่ายภาพโดยเปิดหน้ากล้องได้นานขึ้น เนื่องจากเป็นแค่แสงสลัว จางๆ สังเกตค่อนข้างยากด้วยตาเปล่า การถ่ายภาพจำเป็นต้องเปิดหน้ากล้องนานเพื่อเก็บแสงให้ได้มากที่สุด เลือกใช้เลนส์มุมกว้างและถ่ายบริเวณกลางท้องฟ้า ในช่วงเวลาเที่ยงคืน พร้อมทั้งเปิดใช้ค่ารูรับแสงกว้างๆ เช่น f/2.8 เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุดในการถ่ายภาพ อยากจับภาพได้ทันก็อย่าลืมใช้ค่า ISO สูง ตั้งแต่ 1000 ขึ้นไปเพื่อให้กล้องมีความไวแสงมากขึ้น
ถ้าคุณไม่มีกล้องถ่ายรูปแต่อยากชมแสงเกเกินไชน์ต้องทำยังไง คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ก็มีวิธีในการสังเกตด้วยตาเปล่ามาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งทักษะในการสังเกตการณ์ คุณต้องเรียนรู้วิธีการปรับสายตาในที่มืดเพื่อให้รูม่านตาขยาย โดยใช้เวลาปรับสายตาประมาณ 45 นาที เพื่อปรับให้ตาเข้ากับความมืดอย่างเต็มที่ หรือใช้การมองแบบชำเลืองคล้ายกับการแอบมอง คือการมองด้วยสายตาที่ไม่ได้มองวัตถุโดยตรง แต่อยู่ด้านข้างเล็กน้อยในขณะที่ยังคงให้ความสนใจกับวัตถุนั้นต่อไป วิธีนี้เป็นเทคนิคที่นักดาราศาสตร์นิยมใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างน้อย ๆ ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายในการสังเกตการณ์ หากต้องการใช้แสงสว่าง ก็ควรใช้แสงสีแดงที่สลัวเท่านั้น เพื่อให้ไม่เป็นการทำลายวิสัยทัศน์ในการมองเห็นในตอนกลางคืน รู้วิธีการชมทั้งที มีโอกาสก็ควรต้องหาเวลาไปชมสักหน่อยแล้ว

0
FacebookTwitterGoogle +PinterestLinkedinTumblrRedditStumbleuponWhatsappTelegramEmail
ก่อนหน้า
สูตรบาคาร่า กับเว็บ สล็อตโรม่า มีดีในปี 2021
ถัดไป
แอ่น แอน แอ้น…มด

Related Articles

มุขจีบสาว แบบเสี่ยว ๆ ใช้ได้ผลจริงหรือไม่

21 พฤษภาคม 2022

ทำความรู้จัก WIFI EP2

21 พฤษภาคม 2022

ทํา นาย ดวง ความ รัก มีที่ไหนแม่นยำบ้าง

20 พฤษภาคม 2022

16 พฤษภาคม 2022

Hyperloop One

11 พฤษภาคม 2022

Google Authenticator งานเข้า คนแห่รีวิวแง่ลบ เหตุก...

6 พฤษภาคม 2022

เทคโนโลยี สมัยใหม่ ตามทันโลกเทคโนโลยี | Redd-net

1 พฤษภาคม 2022

 Crypto Bot เครื่องมือที่ได้รับความนิยมในโลกคริปโต

28 เมษายน 2022

สอนเทรดคริปโต binance คอร์สพิเศษสำหรับมือใหม่

21 เมษายน 2022

บาคาร่าเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ เปิดยูสเข้าเล่นได้ง่...

21 เมษายน 2022

ข่าวเด่น

  • มุขจีบสาว แบบเสี่ยว ๆ ใช้ได้ผลจริงหรือไม่

    21 พฤษภาคม 2022
  • ทำความรู้จัก WIFI EP2

    21 พฤษภาคม 2022
  • ทํา นาย ดวง ความ รัก มีที่ไหนแม่นยำบ้าง

    20 พฤษภาคม 2022
  • 16 พฤษภาคม 2022
  • Hyperloop One

    11 พฤษภาคม 2022

หมวดหมู่

  • ความรู้ทั่วไป (72)
  • วิทยาศาสตร์ (61)
  • ดาราศาสตร์ (39)
  • จัดอันดับ (1)
  • เทคโนโลยี (15)
  • บทความทั่วไป (123)

Popular Posts

  • 1

    เทคโนโลยี การถนอมอาหาร (food preservation) และวิธีถนอมอาหาร

    13 มีนาคม 2020
  • 2

    ปรากฏการณ์น้ำทะเล 2 สี

    17 มกราคม 2021
  • 3

    ทานตะวันกับดวงอาทิตย์

    12 มกราคม 2021
  • 4

    PG SLOT อยากเล่นต้องเว็บตรง

    1 เมษายน 2021

เกี่ยวกับเรา

Redd-net

ข่าวสารวงการวิทยาศาตร์ ก้าวทันโลกรู้เรื่องก่อนใคร วิทยาศาสตร์ใหม่ ดวงดาว งานตีพิมพ์ รอบรู้ทั่วโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ป้ายกำกับ

ข่าวภัยธรรมชาติ ดวงจันทร์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สภาพแวดล้อม อวกาศ เทคโนโลยีสมัยใหม่ โลกร้อน

@2019 - All Right Reserved. Designed and Developed by redd-net.org